บอลไทย มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ? การแข่งขันฟุตบอลของประเทศไทยเท่าที่เคยศึกษามา กีฬาฟุตบอลถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเท่าไหร่นัก จะมีก็เพียงบรรดาเจ้านายชั้นผู้ใหญ่  ผู้ที่แนะนำเข้ามาคือเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน  อยุธยา) เมื่อเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นและแพร่ขยายออกไปในสมัยรัชกาลที่ 6  และได้มีการก่อตั้งฟุตบอลสยามเกิดขึ้นมา ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจนมาถึงปัจจุบันนี้

     การแข่งขันฟุตบอลไทยในสมัยแรกๆเป็นการแบ่งการแข่งขัน เพื่อชิงถ้วยพระราชทาน ถ้วยพระราชทาน และ ตามลำดับการคัดเลือกของสมาคมฟุตบอลในสมัยนั้นๆ ทีมฟุตบอลส่วนใหญ่จะถูกจัดตั้งมาจากหน่วยงานภาครัฐต่างๆ และมีเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงฝึกซ้อมให้ การจัดตั้งเป๊นทีมฟุตบอลอาชีพแบบต่างประเทศยังไม่มีให้เห็นมากนัก ในยุคนั้นทีมฟุตบอลหรือสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ที่จะขอแนะนำเท่าที่จำได้มาให้รู้จักดังต่อไปนี้

  1. สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นชื่อ สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด
  2. สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย ยุบสโมสรในปี พ.ศ. 2543
  3. ทีมฟุตบอลราชประชานุเคราะห์ดับเพลิง ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นชื่อสโมสรกีฬาราชประชา
  4. สโมสรฟุตบอลพนักงานยาสูบ ยุบสโมสรในปี พ.ศ. 2558
  5. สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นชื่อ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ
  6. สโมสรโอสถสภา ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นชื่อ จัมปาศรี ยูไนเต็ด
  7. สโมสรฟุตบอลราชนาวีสโมสร ปัจจุบันใช้ชื่อ สโมสรฟุตบอลราชนาวี
  8. สโมสร เทโรศาสน (มาดังช่วงหลังๆ) ปัจจุบันคือ สโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร

และยังมีอีกมากมายหลายทีมที่เด่นๆในประเทศไทย แต่ทีมเหล่านี้เป็นทีมที่ผลิตนักฟุตบอลดีๆ เพื่อเข้าไปเล่นให้กับทีมชาติไทยในยุคนั้นๆเท่าที่ผมจำได้ 

บอลไทย

ปัญหาการควบคุมอารมณ์ของนักบอลไทย

     เกมส์การแข่งขันฟุตบอลในสมัยนั้ยังค่อนข้างล้าสมัย และความเป็นมืออาชีพของนักเตะไทยมีค่อนข้างน้อย สิ่งที่ผมเคยประสบคือการชกต่อยกันในสนามฟุตบอล การควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ของบรรดานักเตะทั้งหลาย ต้องอย่าลืมครับว่านักฟุตบอลไทยในสมัยนั้นทุกๆคนจะต้องทำงาน การที่จะได้ซ้อมบอลก็ต่อเมื่อเลิกงานแล้วเท่านั้น ไม่เหมือนนักฟุตบอลอาชีพในต่างประเทศที่มีค่าตัวสูงๆที่จ่ายค่าเหนื่อยเป็นสัปดาห์ บรรดานักฟุตบอลเก่งๆของเมืองไทยในสมัยนั้น จึงมักจะถูกต่างชาติดึงตัวไปเล่นฟุตบอลในลีกต่างประเทศ ถ้าจะขอเอ่ยชื่อนักฟุตบอลที่เก่งและยังเป็นตำนานอยู่ถึงทุกวันนี้ ทุกๆคนก็ต้องยกให้กับ เดอะตุ๊ก “ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน” นักเตะตำแหน่งศูนย์หน้า ผู้เป็นตำนานตลอดกาลของเมืองไทย ปัจจุบันผันตัวไปเป็นโค้ชฝึกสอนนักฟุตบอลให้กับเยาวชนไทย 

ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน

ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน ในช่วงค้าแข้งในเกาหลีใต้ ภาพจากช่องยูทูป แตงโมลง ปิยะพงษ์ยิง

     การแข่งขันฟุตบอลในประเทศไทยก็เริ่มตกต่ำลงไป จำไม่ผิดน่าเป็นเป็นช่วงปี 2539-2540 ได้มีการยกเลิกการแข่งขันฟุตบอลถ้วยในประเทศไทย และมีความพยายามในการที่จะจัดตั้ฟุตบอลอาชีพ ฟุตบอลลีกในประเทศไทย ให้มีรูปแบบคล้ายกับลีกฟุตบอลอาชีพในต่างประเทศ แต่ปัญหาก็ยังมีอยู่ว่าทีมฟุตบอลที่มีศักยภาพ ในการจัดตั้งสโมรสรให้ได้แบบฟุตบอลอาชีพนั้น ทีมส่วนใหญ่ก็จะเป็นทีมฟุตบอลที่อยู่ในกรุงเทพมหานครซะเป็นส่วนมาก

     จนกระทั่งถึงปี ..2542 การกีฬาแห่งประเทศไทยจึงร่วมมือกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย หาวิธีการแก้ไขปัญหานี้ขึ้นมาซึ่งก็คือการจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ ระบบลีกในส่วนภูมิภาคตอนนั้นรู้สึกจะใช้ชื่อว่า Provincial League (โปรวินเชี่ยลลีกเพื่อยกระดับทีมในส่วนภูมิภาคที่มีคุณภาพ เข้ามาทำการแข่งขัน ในช่วงที่มีการพยายามจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันฟุตบอลลีในประเทศไทย มีปัญหาและปรับปรุงแก้ไขหลายครั้งมากๆ จนกระทั่งมาถึงในปี 2550 วงการฟุตบอลไทยก็เริ่มกลับมามีการแข่งขัน ปลุกกระแสให้ประชาชนคนไทยได้เข้าไปชมการแข่งขันทีมฟุตบอลที่ตัวเองชื่นชอบมากขึ้น ในปัจจุบัน ฟุตบอลลีกในประเทศไทยมีการจัดระดับเป็น 2 ดิวิชั่น ซึ่งลีกสูงสุดของประเทศไทยใช้ชื่อว่า ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้ 18 ทีม ส่วนลีกรองลงมาใช้ชื่อ ไทยลีกดิวิชั่น 1

     จากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทำให้เกิดกระแส บอลไทยฟีเวอร์ ขึ้นมา ทั้งทีมฟุตบอลระดับภูมิภาคและฮ็อตฮิตมากๆ ในระดับไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก เพราะแต่ละทีมก็จะพยายามหาซื้อนักเตะฝีเท้าดี ทั้งที่เป็นนักเตะชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาอยู่ในสโมสรของตนเอง และหวังที่จะพาทีมขึ้นไปเตะในลีกสูงสุด ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกของประเทศไทยให้ได้สักครั้งนึง เป็นการยกระดับการแข่งขันฟุตบอลลีกในประเทศไทยได้อย่างคึกคักขึ้นมามาก หลายๆจังหวัดมีความพยายามที่จะสร้างสโมสรฟุตบอลประจำจังหวัดของตัวเองขึ้นมา ทำให้เกิดสโมสรฟุตบอลขึ้นมามากมาย ลีกฟุตบอลในประเทศไทยก็เริ่มขยายตัวขึ้น เรื่อยๆคนไทยให้ความสนใจมากขึ้น มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนนักเตะเหมือนกับที่ในต่างประเทศได้ทำกันมา

บอลไทย ฟีเวอร์

ภาพกองเชียร์ของทีมต่างในไทยลีค

บอลไทย กับการปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาฟุตบอลไทย

     จาการเปลี่ยนแปลงระบบฟุตบอลไทยครั้งใหญ่ในปี 2549 ก็มีการที่จะให้สิทธิสโมสรฟุตบอลในระดับโปรวิลเชี่ยลลีกเข้ามาร่วมการแข่งขันในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกได้ โดยจะให้สโมสรที่ได้แชมป์และสโมสรที่ได้แชมป์ในระดับภูมิภาคเพิ่มเข้ามาอีก ด้วยเหตุนั้นทำให้มีการเพิ่มจำนวนสโมสรที่จะสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้เป็น 16 สโมสรและมีการตั้งเงื่อนไขให้ 3 สโมสรท้ายตารางต้องตกลดชั้นไปเล่นในระดับ ไทยลีกดิวิชั่น และให้สิทธิสโมสรที่ชนะเลิศรองชนะเลิศและอันดับสามของไทยลีกดิวิชั่น 1 ขึ้นมาทำการแข่งขันแทน ตามมาตรฐานลีกฟุตบอลสากลที่ใช้กันทั่วโลก

     จนมาในปี .. 2552 ได้มีการแจ้งระเบียบออกมาจาก สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (Asian Football Confederation หรือ AFC ให้ผู้บริหารสโมสรฟุตบอลอาชีพ จะตั้งจัดตั้งอยู่ในรูปแบบของนิติบุคคล (บริษัทเพื่อเป็นการบริหารจัดการได้ด้วยความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้นและต้องแพร่หลายออกไปในทุกๆภาคส่วนของประเทศ การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ก็ได้ก่อให้เกิดความแพร่หลายและกลับมานิยมของแฟนบอลชาวไทยอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งมาถึงในปี 2554 สโมสรฟุตที่จะทำการแข่งขันในระดับต่างๆ จะทำการแข่งขันเป็น 18 สโมสร

     ถึงแม้จะมีความพยายามในการเปลี่ยแปลงรูปแบบการบริหารจัดการ สโมสรฟุตบอลไทย ให้เทียบเท่ามาตรฐานในต่างประเทศ ปัญหาต่างๆก็ยังมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ทั้งเรื่องปัญหาความขัดแย้งในสโมสรฟุตบอลเองหรือแม้แต่การประชุมลงมติเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับทีม อีสานยูไนเต็ด กับทีมศรีสะเกษ เอฟซี ซึ่งปัญหาต่างต่างก็มีหลายฝ่ายเข้ามาเป็นตัวกลางช่วยเหลือ

     ต่อมาก็ได้มีการเลือกตั้ง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ขึ้นมาใหม่ ในปี 2559 ผู้ที่ได้รับตำแหน่งในขณะนั้นก็คือ พล..สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ได้รับเลือกเข้ามาจากบรรดาสมาชิกสโมสรต่างๆให้ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมคนใหม่หลังจากได้รับตำแหน่งไปในระยะนึง ก็ได้มีการประกาศอีกว่า จะมีการจัดตั้งบริษัทฯใหม่ขึ้นมาแทน บจกไทยพรีเมียร์ลีก โดยจะเปลี่ยนไปใช้ชื่อว่า บริษัท พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ จำกัด และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจัดหาตัวแทนบริหารสิทธิประโยชน์ของลีก ขึ้นมาใหม่แต่จากนั้นไม่นานก็มีการจัดตั้ง บริษัท ไทยลีก จำกัด ขึ้นมาแทน บจก.พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ อีกครั้งหนึ่ง ตามคำแนะนำ AFC (สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียและ FIFA (สมาพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งมากๆ 

สมยศ เจ

ซ้าย พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ขวา ชนาธิป สรงกระสินธ์ มิดฟิลด์ทีมชาติไทย

     หลังจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ก็พยายามยกระดับลีกฟุตบอลในประเทศ เพื่อให้ก้าวเข้าไปเป็นทีมชั้นนำของ ภูมิภาคอาเชียน และ ทวีปเอเชีย และปรับเปลี่ยน ชื่อลีกแต่ละระดับให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันนี้การแข่งขันฟุตบอลลีกในประเทศ จัดให้มีการแข่งขันใน 4 ระดับด้วยกันดังนี้

  • ไทยลีก (Thai League) ใช้ตัวย่อว่า T1
  • ไทยลีก2 (Thai League 2) ใช้ตัวย่อว่า T2
  • ไทยลีก3 (Thai League 3) ใช้ตัวย่อว่า T3
  • ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (Thailand Amateur League) ใช้ตัวย่อว่า TA เป็นลีกสมัครเล่น

     ผมในฐานะคนไทยคนหนึ่งซึ่งก็มีทีมสโมสรฟุตบอลที่อยากเชียร์และอยากให้ประสบความสำเร็จบ้างสักครั้งนึง แต่ถึงแม้เราจะมีทีมที่รักแต่ผมเชื่อว่าประชาชนคนไทยต่างก็มี บอลไทยในสายเลือด กันทุกคน และผมก็ยังดีใจที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงพัฒนาวงการฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยและอยากเห็นการได้ก้าวไปเป็นทีมสโมสรชั้นนำในทวีปเอเชียอย่างที่หลายๆคนใฝ่ฝัน ซึ่งมันก็ไม่รู้ว่าคงยังที่จะต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหน แต่ก็คอยแอบให้กำลังใจ ผู้ที่ชื่นชอบเกมส์กีฬาฟุตบอล และทุกๆท่านที่ช่วยกันสร้างผลักดันให้เกิดสโมสรฟุตบอลใหม่ๆขึ้นมาแข่งขัน บางท่านทำไปแล้วอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างน้อยท่านก็ได้ลงมือทำ สร้างฝันของท่านขึ้นมาและขอให้การแข่งขันฟุตบอลอาชีพในประเทศ ก้าวหน้าและเติบโตอย่างเข้มแข็งต่อไป ซึ่งอาจจะต้องใช้งบประมาณมหาศาลแต่ถ้าเราไปดูลีคต่างประเทศต่างมีวิธีดึงเงินก้อนโตจาก ค่าลิขสิทธิ์ ค่าโฆษณาและหาสปอนเซอร์จากสินค้า ตลอดจนถึงหารายได้จาก เว็บพนันบอลต่างๆ มาพัฒนาทั้งลีคและทีมอีกทั้งนำเงินไปใช้พัฒนาทีมเยาวชนไปในทางที่ดี ถ้าจะบอกว่าการหาสปอนเซอร์จากเว็บเหล่านั้นมันไม่เหมาะไม่ควร แต่ถ้าเรามองความจริง ซึ่งมันเป็นของคู่กันเมื่อมีการแข่งขันย่อมมีการเดิมพัน สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นจริงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและไม่มีใครหยุดยั้งมันได้ ถ้าฆ่ามันไม่ได้ก็จงใช้ประโยชน์จากมันเถอะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติม วิกิพีเดีย ไทยลีก